วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

รูปแบบการให้บริการทางอินเตอร์เน็ต

1. ความหมายของคำว่าบริการบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

       บริการบนอินเทอร์เน็ตมีหลายประเภท เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ได้เลือกใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะงาน ซึ่งในที่นี้จะยกตัวอย่างบริการบนอินเทอร์เน็ตที่สำคัญดังนี้
        1.บริการด้านการสื่อสาร
        1.1 ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์(electronic mail)        ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่าอีเมล์ (E-mail) ถือได้ว่าเป็นกิจกรรมประจำวันของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต ซึ่งการส่งและรับจดหมาย หรือข้อความถึงกันได้ทั่วโลกนี้จำเป็นจะต้องมีที่อยู่อีเมล์ (e-mail address หรือ e-mail account) เพื่อใช้เป็นกล่องรับจดหมาย ที่อยู่ของอีเมล์จะประกอบ ด้วยส่วนประกอบสำคัญ 2 ส่วน คือ ชื่อผู้ใช้ (User name) และชื่อโดเมน(Domain name) ซึ่งเป็นชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีรายชื่อของผู้ใช้อีเมล์ โดยชื่อผู้ใช้และชื่อโดเมนจะคั่นด้วยเครื่องหมาย @(อ่านว่า แอ็ท) เช่น Sriprai@sukhothai.siamu.ac.th จะมีผู้ใช้อีเมล์ชื่อ Sriprai ที่มีอยู่อีเมล์ ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ชื่อ sukhothai ของมหาวิทยาลัยสยาม(siamu) ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษา (ac) ในประเทศไทย (th)
        ในการรับ-ส่งจดหมาย โดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น ได้มีการพัฒนาโปรแกรมที่ใช้สำหรับอีเมล์อยู่หลายโปรแกรม เช่น โปรแกรม Microsoft Outlook Express โปรแกรม Netscape Mail เป็นต้น นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถลงทะเบียนเพื่อขอรับที่อยู่อีเมล์ได้ฟรีจาก เว็บไซต์ที่ให้บริการที่อยู่อีเมล์ฟรี เว็บไซต์ที่เป็นที่รู้จักและนิยม ได้แก่ www.hotmail.com, www.chaiyo.com, www.thaimail.com
        โดยทั่วไปแล้ว ส่วนประกอบหลัก ๆ ของอีเมล์จะประกอบด้วยส่วนหัว (header) และส่วนข้อความ (message)
        1.2 รายชื่อกลุ่มสนทนา (mailing lists)        mailing lists เป็นกลุ่มสนทนาประเภทหนึ่งบนอินเทอร์เน็ตที่มีการติดต่อสื่อสารและการส่ง ข่าวสารให้กับสมาชิกตามรายชื่อและที่อยู่ของสมาชิกที่มีอยู่ ในรายการซึ่งในปัจจุบันมีกลุ่ม mailing lists ที่แตกต่างกันตามความสนใจจำนวนมาก การเข้าไปมีส่วนร่วมในกลุ่มสนทนาประเภทนี้ ผู้ใช้จะต้อง สมัครสมาชิกก่อนด้วยการแจ้งความประสงค์และส่งชื่อและที่อยู่เพื่อการลงทะ เบียบไปยัง subscription address ของ mailing lists ตัวอย่าง mailing list เช่น ทัวร์ออนไลน์ (tourbus@listserv.aol.com)กลุ่มสนทนาเรื่องตลก (dailyjoke@lists.ivllage.com)
        1.3 กระดานข่าว (usenet)
        ยูสเน็ต (usenet หรือ user network) เป็นการรวบรวมของกลุ่มข่าวหรือ newsgroup ซึ่งเป็นกลุ่มผู้สนใจที่ต้องการจะติดต่อและแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นกับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตคนอื่น ๆ กลุ่มของ newsgroup ในปัจจุบันมีมากกว่า 10,000 กลุ่มที่มีความสนใจในหัวข้อที่แตกต่างกัน เช่น กลุ่มผู้สนใจศิลปะ กลุ่มคอมพิวเตอร์ กลุ่มผู้ชื่นชอบภาพยนต์ เป็นต้น
        การส่งและรับแหล่งข่าวจาก usenet จะใช้โปรแกรมสำหรับอ่านข่าวเพื่อไปดึงชื่อของกลุ่มข่าวหรือหัวข้อจากเครื่อง คอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้เข้าไปขอใช้บริการ
        เช่นเดียวกับระบบชื่อโดเมน (DNS) กลุ่มข่าวจะมีการตั้งชื่อเพื่อใช้เป็นแบบมาตรฐาน ซึ่งชื่อกลุ่มจะประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก ๆ คือ ชื่อหัวข้อกลุ่มข่าวหลัก (major topic) ชื่อกลุ่มข่าวย่อย (subtopic) และประเภทของกลุ่มข่าวย่อย (division of subtopic) ตัวอย่างเช่น
        1.4 การสนทนาออนไลน์(On-line chat)        การสนทนาออนไลน์ เป็นบริการหนึ่งบนอินเทอร์เน็ตที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถคุยโต้ตอบกับผู้ใช้คน อื่น ๆ ได้ในเวลาเดียวกัน (real-time) การสนทนาหรือ chat (Internet Relay Chat หรือ IRC)ได้มีการพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันการสนทนาระหว่างบุคคลหรือ กลุ่มบุคคลสามารถใช้
ภาพกราฟิก ภาพการ์ตูนหรือภาพเคลื่อนไหวต่าง ๆ แทนตัวผู้สนทนาได้ นอกจากการสนทนาแล้ว ผู้ใช้ยังสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลและไฟล์ได้อีกด้วย
        การใช้งาน IRC ผู้ใช้จะต้องติดต่อไปยังเครื่องที่เป็นไออาร์ซีเซิร์ฟเวอร์ (IRC server) ที่มีการแบ่งห้องสนทนาเป็นกลุ่ม ๆ ที่เรียกว่า แชนแนล (channel) โดยผู้ใช้จะต้องมีโปรแกรมเพื่อใช้สำหรับการสนทนา (ซึ่งสามารถดาวน์โหลดฟรีจากอินเทอร์เน็ต) เมื่อผู้ใช้ติดต่อกับเครื่องเซิร์ฟเวอร์ได้แล้ว ก็จะเลือกกลุ่มสนทนาหรือหัวข้อสนทนาที่สนใจ และเริ่มสนทนาได้ตามความต้องการ ตัวอย่าง โปรแกรมสนทนาออนไลน์ที่นิยมใช้กัน ในปัจจุบัน เช่น ICQ(I Seek You) และ mIRC

        การสนทนาผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ในปัจจุบันผู้ใช้สามารถใช้สื่อประสม (multimedia) ประกอบด้วย เสียงพูด และภาพเคลื่อนไหว โดยใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ไมโครโฟน ลำโพง กล้องวีดีโอ และอื่น ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกและเพื่อประสิทธิภาพของการสนทนา ให้ดียิ่งขึ้น ในส่วนของโปรแกรม ได้มีการพัฒนาโปรแกรมเพื่อการสนทนาออนไลน์ที่มีคุณภาพ เช่น โปรแกรม Microsoft NetMeeting ที่สามารถสนทนากันไปพร้อม ๆ กับมองเห็นภาพของคู่สนทนาได้ด้วย

        1.5 เทลเน็ต (telnet)        เทลเน็ตเป็นบริการที่ให้ผู้ใช้สามารถใช้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ตั้งอยู่ระยะไกล โดยจะใช้การจำลองเครื่องคอมพิวเตอร์ที่กำลังใช้งานอยู่ ให้เป็นจอภาพ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ระยะไกลเครื่องนั้น การทำงานในลักษณะนี้ จะช่วยประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายในกรณีที่ต้องเดินทางไปใช้งาน เครื่องคอมพิวเตอร์ระยะไกล การใช้งานเทลเน็ตจะเป็นการแสดงข้อความตัวอักษร (text mode) โดยปกติการเข้าไปใช้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์ ระยะไกล จำเป็นต้องมีรายชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน แต่ก็มีบางหน่วยงานที่อนุญาติให้เข้าใช้บริการโดยไม่ต้องระบุรหัสผ่านเพื่อ เป็นการให้บริการข้อมูลแก่ลูกค้าทั่ว ๆ ไป
 
                                                           2.บริการด้านข้อมูลต่าง ๆ

        2.1 การขนถ่ายไฟล์(file transfer protocol)        การขนถ่ายไฟล์ หรือที่เรียกสั้น ๆว่า เอฟทีพี (FTP) เป็นบริการที่ใช้สำหรับการแลกเปลี่ยนไฟล์ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ทาง อินเตอร์เน็ต เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการไฟล์จะเรียกว่า เอฟทีพีเซิร์ฟเวอร์ (FTP sever หรือ FTP site)
        ข้อมูลที่ให้บริการขนถ่ายไฟล์จะมีลักษณะหลายรูปแบบ ได้แก่ ข้อมูลสถิติ งานวิจัย บทความ เพลง ข่าวสารทั่วไป หรือโปรแกรมฟรีแวร์ (freeware) ที่สามารถดาวน์โหลดและใช้โปรแกรมฟรี
        ในบางครั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการขนถ่ายไฟล์จะให้บริการ เฉพาะบุคคลที่มีบัญชีรายชื่ออยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่ก็มีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการขนถ่ายไฟล์จำนวนมากอนุญาตให้ผู้ใช้ ทั่วไปได้เข้าไปใช้บริการ ถึงแม้ว่าในบางครั้งจะไม่อนุญาต ให้ขนถ่ายไฟล์ทั้งหมดก็ตาม
        2.2 โกเฟอร์ (gopher)        เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่ให้บริการข้อมูลในลักษณะของการค้นหาจากเมนู (menu-based search) จากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการข้อมูล โปรแกรมโกเฟอร์พัฒนาโดยมหาวิทยาลัย Minnesota ในปี ค.ศ. 1991 เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการฐานข้อมูลจะเป็นลักษณะของเมนูลำดับชั้น (hierarchy) เพื่อเชื่อมโยงไปยังแหล่งข้อมูลอื่น ๆ ที่กระจายกันอยู่หลายแหล่งได้
        2.3 อาร์ซี (archie)         อาร์ซี เป็นการเข้าใช้บริการค้นหาข้อมูลจากเครื่องแม่ข่ายที่เป็นอาร์ซีเซิร์ฟเวอร์ (archie sever ) ซึ่งเป็นแหล่งที่ช่วยให้ผู้ใช้ค้นหาสถานที่ของข้อมูล จากนั้นก็จะไปค้นข้อมูลโดยตรงจากสถานที่นั้นต่อไป
        2.4 WAIS (Wide Area Information Severs)        WAIS เป็นบริการค้นหาข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตที่ได้รวบรวม ข้อมูลและดรรชนีสำหรับสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้เพื่อสามารถเข้าไปยังข้อมูลที่ต้องการและ สามารถเชื่อมโยงไปยังศูนย์ข้อมูล WAIS อื่นๆ ได้ด้วย
        2.5 veronica        veronica ย่อมาจาก very easy rodent-oriented net-wide index to computerized archives เป็นบริการที่รวบรวมข้อมูลเพื่อช่วยอำนวย ความสะดวกในการค้นหาสิ่งที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว
        2.6 การค้นหาข้อมูลโดยใช้เว็บเบราเซอร์        อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายใยแมงมุมที่มีการเชื่อมโยงแหล่งข้อมูลที่ กระจัดกระจายอยู่ทั่วโลก การค้นหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ถ้าผู้ใช้ไม่ทราบที่อยู่ของเว็บไซต์ ก็สามารถค้นหาแหล่งข้อมูลโดยใช้บริการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วปัจจุบันการค้นหาข้อมูลที่ต้องการเป็นเรื่อง ที่กระทำได้สะดวกและรวดเร็ว การพัฒนาเว็บไซต์ที่ช่วยสืบค้นแหล่งข้อมูลที่เรียกว่า เครื่องค้นหา (search engine) ช่วยให้การค้นหาทั้งในรูปของ ข้อความและกราฟิกกระทำได้โดยง่าย เว็บไซต์ที่ช่วยสำหรับการสืบค้นข้อมูลที่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ได้แก่ yahoo.com, altavista.com, lycos.com, excite.com, ask.com, infoseek.ccom
บริการต่างๆบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
        อินเทอร์เน็ต เป็นแหล่งที่ใช้ในการเก็บข้อมูลจำนวนมาก ที่เราสามารถค้นคว้า และรับส่งข้อมูลไปมา ระหว่างกันได้ อินเทอร์เน็ตจึงมีประโยชน์สำหรับยุคสังคมและข่าวสาร ในปัจจุบันอย่างมาก อินเทอร์เน็ต จะทำหน้าที่ เหมือนห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ ส่งข้อมูลที่เราต้องการมาให้ถึงบ้านหรือที่ทำงาน ภายในไม่กี่นาที จากแหล่งข้อมูลทั่วโลก โดยจัดเป็นบริการในรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้
       เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web : WWW) คือบริการค้นหาและแสดงข้อมูลแบบมัลติมีเดีย บนอินเทอร์เน็ตทุกประเภท ซึ่งข้อมูลและสารสนเทศอาจจัดอยู่ในรูปแบบของข้อความ รูปภาพ หรือ เสียงก็ได้ ข้อดีของบริการประเภทนี้คือ สามารถเชื่อมโยงไปยังเว็บเพจหน้าอื่น หรือเว็บไซด์อื่นได้ง่าย เพราะใช้วิธีการของไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext) โดยมีการทำงานแบบไคลเอนท์/เซิร์ฟเวอร์ (Client/Server) ซึ่งผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูล จากเครื่องที่ให้บริการซึ่งเรียกว่าเว็บเซิร์ฟเวอร์ โดยอาศัยโปรแกรม ที่ใช้ดูข้อมูลเว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser) ซึ่งผลที่ได้จะมีการแสดงเป็นไฮเปอร์เท็กซ์ ซึ่งในปัจจุบันมีการผนวกรูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว และสามารถเชื่อมโยงไปยังเอกสารหรือข้อมูลอื่น ๆ ได้โดยตรงตัวอย่างเช่น www.yahoo.com สามารถค้นหาและเชื่อมโยงข้อมูลไปยังเรื่องราวต่างๆ เช่น การศึกษาการท่องเที่ยว โรงแรมต่าง ๆ การรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ เป็นต้น
      จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) หรือนิยมเรียกกันทั่วไปว่า “อีเมล์” (E-mail) เป็นรูปแบบการติดต่อสื่อสาร ระหว่างกัน และกันบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด สามารถส่งข้อความ ไปยังสมาชิกที่ติดต่อด้วย โดยใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที และสามารถแนบไฟล์ข้อมูลไปพร้อมกับจดหมายได้อีกด้วย การส่งจดหมายในลักษณะนี้ จะต้องมีที่อยู่เหมือนกับการส่งจดหมายปกติ แต่ที่ของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เราเรียกว่า E-mail Address
       การโอนย้ายข้อมูล (FTP : File Transfer Protocol) เป็นรูปแบบการติดต่อสื่อสารข้อมูล บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อีกรูปแบบหนึ่ง ใช้สำหรับการโอนย้ายข้อมูลระหว่างผู้ใช้โปรแกรม FTP กับ FTP Server การโอนย้ายไฟล์จาก FTP Server มายังเครื่องของผู้ใช้ เรียกว่า ดาวน์โหลด (Download) และการโอนย้ายไฟล์ จากเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ ไปยังไปยัง FTP Server เรียกว่า อัพโหลด
       การสืบค้นข้อมูล (Search Engine) คือ บริการที่ใช้ในการค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต โดยพิมพ์ข้อความที่ต้องการสืบค้น เข้าไป โปรแกรมจะทำการค้นหาข้อมูลที่ต้องการ ให้ภายในเวลาไม่กี่นาที โปรแกรมประเภทนี้เราเรียกว่าSearch Engines เพราะฉะนั้นถ้าเราไม่สามารถจำชื่อเว็บไซด์ บางเว็บได้ ก็สามารถใช้วิธีการสืบค้นข้อมูล ในลักษณะนี้ได้ เว็บไซด์ที่ทำหน้าที่เป็น Search Engines มีอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น google.com , yahoo.com , sanook.com ฯลฯ เป็นต้น
การสนทนากับผู้อื่นบนอินเทอร์เน็ต จะคล้ายกับการใช้โทรศัพท์แต่แตกต่างกันที่ เป็นการสื่อสาร ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะใช้ไมโครโฟน และลำโพงที่ต่ออยู่กับคอมพิวเตอร์ในการสนทนา
       กระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ (News Group or Use Net) เป็นบริการกระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และแสดงความคิดเห็นลงไปบริเวณกระดานข่าวได้ มีการแบ่งกลุ่มผู้ใช้ออกเป็นกลุ่ม ๆ ซึ่งแต่ละกลุ่มจะสนใจเรื่องราวที่แตกต่างกันไป เช่นการศึกษา การท่องเที่ยว การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม การเกษตร และอุตสาหกรรม เป็นต้น
       การสื่อสารด้วยข้อความ IRC (Internet Relay Chat) เป็นการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น โดยการพิมพ์ข้อความโต้ตอบกัน ซึ่งจำนวนผู้ร่วมสนทนาอาจมีหลายคนในเวลาเดียวกัน ทุกคนจะเห็นข้อความ ที่แต่ละคนพิมพ์เหมือนกับว่ากำลังนั่งสนทนาอยู่ในห้องเดียวกัน โปรแกรมที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารได้แก่โปรแกรม mIRC โปรแกรม PIRCH และโปรแกรม Comic Chat นอกจากโปรแกรม IRC แล้ว ในปัจจุบันนี้ภายในเว็บไซต์ ยังเปิดให้บริการห้องสนทนาผ่านทางโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ได้อีกด้วย

อินเทอร์เน็ตคืออะไร

สารบัญ


1. ประวัติความเป็นมา
2. ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต (Internet Advantage)






1. การติดต่อสื่อสาร (Communication)
2. ความบันเทิง (Entertainment)
3. ธุรกิจการพาณิชย์ (Commerce)
4. การศึกษา (Education)
3.
เอกสารจาก Nectec เยอะมาก
4.
อินเทอร์เน็ต...เข้าใจง่าย 66 หน้า (PDF)


อินเทอร์เน็ต (Internet) มาจากคำว่า Inter และ net
1. อินเทอร์ (Inter) คือ ระหว่าง หรือท่ามกลาง
2. เน็ต (Net) คือ เครือข่าย (Network)






อินเทอร์เน็ต (Internet)
คือ เครือข่ายนานาชาติ ที่เกิดจากเครือข่ายเล็ก ๆ มากมาย รวมเป็นเครือข่ายเดียวกันทั้งโลก
คือ เครือข่ายสื่อสาร ซึ่งเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ที่ต้องการเข้ามาในเครือข่าย
คือ การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย
คือ เครือข่ายของเครือข่าย

ข้อมูลจากหนังสือดี
+ Internet starter kit (Adam C.Engst | Corwin S. Low | Michael A. Simon)
+ เปิดโลกอินนเทอร์เน็ต (สมนึก คีรีโต | สุรศักดิ์ สงวนพงษ์ | สมชาย นำประเสริฐชัย)
+ User's Basic Guide to the Internet (สำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยมหิดล)
+ The ABCs of The Internet (Srisakdi Charmonman,Ph.D. ...)

ใช้ข้อมูลจากเว็บหน้านี้ไปอบรมเรื่อง Internet คืออะไร ที่โรงเรียนบุญวาทย์ วิทยาลัย ลำปาง
(หากมีสิ่งใดผิดพลาด หรือไม่ถูกต้อง ขอได้ชี้แนะมายังทีมงาน เราจะรีบตรวจสอบ และแก้ไขในทันที -
E-Mail)


อินเทอร์เน็ต คือ การเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน ตามโครงการของอาร์ป้าเน็ต (ARPAnet = Advanced Research Projects Agency Network) เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้งเมื่อประมาณ ปีค.ศ.1960(พ.ศ.2503) และได้ถูกพัฒนาเรื่อยมา

ค.ศ.1969(พ.ศ.2512) อาร์ป้าเน็ตได้รับทุนสนันสนุนจากหลายฝ่าย และเปลี่ยนชื่อเป็นดาป้าเน็ต (DARPANET = Defense Advanced Research Projects Agency Network) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบาย และได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์คนละชนิดจาก 4 เครือข่ายเข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ 1)มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลองแองเจอลิส 2)สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด 3)มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานตาบาบาร่า และ4)มหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้นในปีค.ศ.1975(พ.ศ.2518) จึงได้เปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายที่ใช้งานจริง ซึ่งดาป้าเน็ตได้โอนหน้าที่รับผิดชอบให้แก่หน่วยการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ (Defense Communications Agency - ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency) แต่ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตมีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหารเครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก, IAB (Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ในอินเทอร์เน็ต, IETF (Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัครทั้งสิ้น
ค.ศ.1983(พ.ศ.2526) ดาป้าเน็ตตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocal/Internet Protocal) มาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ จึงเป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาจนถึงปัจจุบัน เพราะ TCP/IP เป็นข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในโลกสื่อสารด้วยความเข้าใจบนมาตรฐานเดียวกัน
ค.ศ.1980(พ.ศ.2523) ดาป้าเน็ตได้มอบหน้าที่รับผิดชอบการดูแลระบบอินเทอร์เน็ตให้มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation - NSF) ร่วมกับอีกหลายหน่วยงาน
ค.ศ.1986(พ.ศ.2529) เริ่มใช้การกำหนดโดเมนเนม (Domain Name) เป็นการสร้างฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distribution Database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์เหมือนแต่ก่อน เช่น การเรียกเว็บไซต์ www.yonok.ac.th จะไปที่ตรวจสอบว่ามีชื่อนี้ในเครื่องบริการโดเมนเนมหรือไม่ ถ้ามีก็จะตอบกับมาเป็นหมายเลขไอพี ถ้าไม่มีก็จะค้นหาจากเครื่องบริการโดเมนเนมที่ทำหน้าที่แปลชื่ออื่น สำหรับชื่อที่ลงท้ายด้วย .th มีเครื่องบริการที่ thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูลของโดเมนเนมที่ลงท้ายด้วย th ทั้งหมด
ค.ศ.1991(พ.ศ.2534) ทิม เบอร์เนอร์ส ลี (Tim Berners-Lee) แห่งศูนย์วิจัย CERN ได้คิดค้นระบบไฮเปอร์เท็กซ์ขึ้น สามารถเปิดด้วย เว็บเบราวเซอร์ (Web Browser) ตัวแรกมีชื่อว่า WWW (World Wide Web) แต่เว็บไซต์ได้รับความนิยมอย่างจริงจัง เมื่อศูนย์วิจัย NCSA ของมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์เออร์แบน่าแชมเปญจ์ สหรัฐอเมริกา ได้คิดโปรแกรม MOSAIC (โมเสค) โดย Marc Andreessen ซึ่งเป็นเว็บเบราว์เซอร์ระบบกราฟฟิก หลังจากนั้นทีมงานที่ทำโมเสคก็ได้ออกไปเปิดบริษัทเน็ตสเคป (Browser Timelines: Lynx 1993, Mosaic 1993, Netscape 1994, Opera 1994, IE 1995, Mac IE 1996, Mozilla 1999, Chimera 2002, Phoenix 2002, Camino 2003, Firebird 2003, Safari 2003, MyIE2 2003, Maxthon 2003, Firefox 2004, Seamonkey 2005, Netsurf 2007, Chrome 2008)
ในความเป็นจริงไม่มีใครเป็นเจ้าของอินเทอร์เน็ต และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ ผู้ติดสิน ผู้เสนอ ผู้ทดสอบ ผู้กำหนดมาตรฐานก็คือผู้ใช้ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ก่อนประกาศเป็นมาตรฐานต้องมีการทดลองใช้มาตรฐานเหล่านั้นก่อน ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain Name ก็จะยึดตามนั้นต่อไป เพราะอินเทอร์เน็ตเป็นระบบกระจายฐานข้อมูล การจะเปลี่ยนแปลงข้อมูลพื้นฐานอาจต้องใช้เวลา
ปัญหาความปลอดภัยการใช้อินเทอร์เน็ต
           ปัญหาที่เกิดจากการบุกรุกและการโจรกรรม มีแนวโน้มที่จะมีมากขึ้นและมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงถึงกันและกัน และมีผู้ใช้เป็นจำนวนมาก ซึ่งแน่นอนที่จะมีทั้งคนดีและคนร้ายที่แอบปะปนกัน...




ในช่วงระยะเวลาเดือน-สองเดือนที่ผ่านมา ข่าวคราวจากหนังสือพิมพ์และสื่อมวลชนได้ลงเรื่องราวเกี่ยวกับการโจรกรรม และปัญหา ที่เกิดจากแฮกเกอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ปัญหาที่เกิดจากการบุกรุกและการโจรกรรมมีแนวโน้มที่จะมีมากขึ้น และมีความรุนแรงยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพราะเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงถึงกัน มีผู้ใช้เป็นจำนวนมาก ซึ่งแน่นอนที่มีทั้งคนดีและคนร้ายที่แอบปะปนมา ประจวบกับกิจการทางด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กำลังได้รับ ความนิยม และมีผู้ใช้บริการซื้อของผ่านอินเทอร์เน็ตกันมาก มีการโอนรายการ หรือการส่งผ่านรหัสบัตรเครดิต เพื่อการซื้อขายสินค้าและบริการต่าง ๆ อีกทั้งข้อมูลหลายอย่างในอินเทอร์เน็ต และข้อมูลดำเนินการภายในองค์กร มีความสำคัญเป็นที่หมายปองของผู้บุกรุก เพื่อดำเนินการบางอย่างที่ผูกพันกับผลประโยชน์ต่าง ๆ
แฮกเกอร์คือ บุคคลที่อยู่ในมุมมืด แอบแฝงเจาะด่านป้องกันต่าง ๆ ของระบบเครือข่ายและเซิร์ฟเวอร์ เพื่อเป้าประสงค์ต่าง ๆ กัน ตั้งแต่เข้าทำลายระบบและข้อมูลข่าวสาร เปลี่ยนแปลงแก้ไข ลักลอบคัดลอกข้อมูล ล้วงความลับ รวมถึงสร้างความปั่นป่วนให้กับวงการผู้ใช้ได้มาก
การดำเนินงานของแฮกเกอร์ มีเทคนิควิธีการที่เผยแพร่กันในกลุ่มแฮกเกอร์อยู่มาก ตั้งแต่การเจาะผ่านพอร์ตที่เปิดบริการ การยิงข้อมูล จำนวนมากผ่านพอร์ตบริการให้เกิดโอเวอร์โฟล์ว เพื่อเครื่องจะได้ทำงานผิดปกติ การฝ่าด่านเจาะรูโหว่ของระบบ เพื่อควบคุมระบบ และสามารถเข้าสู่การเป็นซูเปอร์ยูสเซอร์ของระบบ การดำเนินการยังนำเอารหัสผ่าน ซึ่งเป็นรหัสที่ผ่านการเข้ารหัสแล้วไปถอดด้วยโปรแกรมหรือเครื่องมือการถอดรหัส เพื่อให้ได้อักขระรหัสผ่านของผู้ใช้
สิ่งที่สำคัญคือ บนเครือข่ายมีข้อมูลไหลผ่านจำนวนมาก แฮกเกอร์สามารถวางโปรแกรมประเภท network monitor ที่คอยเก็บข้อมูลที่ผ่าน ไปมาบนเครือข่าย มาวิเคราะห์หารหัสผ่าน หายูสเซอร์เพื่อจะตามเข้าระบบทีหลัง โปรแกรมที่แฮกเกอร์วางไว้มีมากมายและแพร่หลาย การ ดักฟังข้อมูลวิธีนี้เป็นวิธีที่แฮกเกอร์ชอบดำเนินการ โดยเฉพาะการดักที่เกตเวย์สำคัญ การดักในเครือข่ายอีเทอร์เน็ตที่ข้อมูลมีลักษณะกระจาย (boardcast) จะได้ข้อมูลจำนวนมากมาทำการวิเคราะห์หารูรั่ว และตามเข้าระบบได้ภายหลัง
การวางโปรแกรมเจาะระบบอีกอย่างหนึ่งคือ ใส่ฝังมากับโปรแกรมแจกฟรีต่าง ๆ เมื่อผู้ใช้ดาวน์โหลดโปรแกรมมา หรือรันโปรแกรมที่ได้มาจากอีเมล์ และเรียกรันโปรแกรม โปรแกรมประเภท network monitor หรือไวรัส หรือโทรจันฮอส จะออกมาฝังตัวแอบซ่อนอยู่ใน เครื่องไคลแอนด์ของผู้ใช้เฝ้าดูเครือข่าย วิเคราะห์และส่งข้อมูลกลับให้ผู้วางโปรแกรมนั้น
วิธีการที่แฮกเกอร์ใช้มีมากมาย เพราะทุกเส้นทางที่เปิดบริการ ทุกพอร์ตที่มีให้เข้าใช้บริการ เป็นจุดทางเข้าของแฮกเกอร์ได้ทั้งนั้น ดังนั้นพอร์ตหรือเส้นทางเข้าที่ไม่จำเป็น จึงไม่ควรเปิดไว้ แต่อย่างไรก็ตามบนอินเทอร์เน็ตต้องมีบริการต่าง ๆ เช่น การบริการเมล์ การบริการ FTP การบริการ telnet การบริการ Web ทุกการบริการจึงต้องมีระบบดูแลความปลอดภัย
ปัญหาอีกอย่างหนึ่งที่เกิดบนเครือข่ายคือ เมล์ขยะ หรือ spam mail เมล์ระราน เมล์โฆษณาขายสินค้า เมล์บอมบ์ ตลอดจนเมล์ที่เป็น จดหมายลูกโซ่ ปัญหาเหล่านี้นับวันจะรุนแรง เพราะเมล์บอมบ์ ทำให้ระบบเซิร์ฟเวอร์หยุดทำงานได้ หรือหากมีใครที่เป็นสมาชิกส่งเมล์ ถึงทุกคนในเซิร์ฟเวอร์ ปริมาณเมล์จะมากมายมหาศาลจนระบบอาจไม่ตอบสนองหรือหยุดการทำงานได้
สิ่งที่เป็นปัญหาเมื่อเร็ว ๆ นี้ที่เว็บไซส์หลายแห่งได้รับคือ การโจมตีจากการเรียกใช้พร้อม ๆ กัน จนทำให้เซิร์ฟเวอร์ให้บริการไม่ได้ และหยุดการทำงาน การโจมตีลักษณะนี้จะเกิดขึ้นจากแฮกเกอร์เข้าบุกทำลายเครื่องบนเครือข่ายจำนวนมาก และแอบวางโปรแกรมไว้ ภายในเครื่อง พร้อมตั้งเวลาเพื่อส่งคำขอใช้ระบบไปที่เป้าหมายพร้อมกันจำนวนมาก ๆ จนทำให้เซิร์ฟเวอร์โอเวอร์โหลด


ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาร่วมกันของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ดังนั้นผู้ใช้ทุกคนต้องร่วมมือกัน ข้อแนะนำเบื้องต้นในการใช้คอมพิวเตอร์ และเครือข่ายอย่างปลอดภัยมีดังนี้
- ผู้ใช้พึงระลึกและเข้าใจว่า นโยบายการรักษาความปลอดภัยขององค์กรเป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้นจึงควรให้ความร่วมมือกับองค์กร และปฏิบัติตามข้อแนะนำอย่างเคร่งครัด
- ควรเปลี่ยนรหัสผ่านทุกเดือน
- ไม่ควรให้ข้อมูลใด ๆ กับผู้ที่ไม่รู้จัก โดยเฉพาะข้อมูลเกี่ยวกับระบบรักษาความปลอดภัย สำหรับนิสิตผู้ใช้ ไม่ควรให้ข้อมูล ชื่อ ที่อยู่ของผู้ปกครอง หมายเลขโทรศัพท์กับบุคคลที่ไม่เคยรู้จักตัว
- ไม่ควรแชร์ Account ให้ใช้งานหลายคน
- รหัสผ่านควรต้องมีความยาวเกินกว่า 8 ตัว และจะต้องเป็นคำที่ไม่มีในพจนานุกรม ควรมีอักษรพิเศษร่วมอยู่ด้วย
- ไม่ควรดาวน์โหลดโปรแกรมจากแหล่งข้อมูลที่ไม่รู้จัก หรือถ้าได้รับโปรแกรมที่ส่งมาให้ทดลองจากคนไม่รู้จัก ไม่ควรที่จะเรียก รันบนเครื่องคอมพิวเตอร์
- หากมีนโยบายการใช้ proxy ควรใช้ proxy เพราะ proxy มีส่วนช่วยในเรื่องระบบรักษาความปลอดภัยได้ทางหนึ่ง
- ในการ login ทุกครั้ง ให้ตรวจดูว่า ครั้งก่อนที่ login เป็นตัวเราเองหรือไม่ ถ้าพบผู้บุกรุกให้แจ้ง admin และผู้ดูแลระบบ ทราบทันที
- ไม่เปิดเครื่องที่ login ค้างไว้ โดยที่ตัวเองไม่อยู่ที่โต๊ะทำงาน
- ติดตั้งรหัสผ่านที่ BIOS และที่ระบบปฏิบัติการ
- หลีกเลี่ยงการใช้ ICQ หรือถ้าจะใช้ต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง และเข้าใจ
- ควรมีการสแกนไวรัสอย่างสม่ำเสมอ
- ทำสำเนาข้อมูลไว้อย่างสม่ำเสมอ
- ไม่ควรเก็บเมล์หรือเอกสารสำคัญไว้ในเมล์บ็อกในเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ควรเก็บไว้ในเครื่องไคลแอนต์ของตนแลดูแลเฉพาะ
สิ่งที่สำคัญคือ เราต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจกับระบบ และติดตามความเคลื่อนไหว โดยเฉพาะจะต้องปฏิบัติตนตามกรอบแห่งศีลธรรม จริยธรรมอย่างเคร่งครัด 

                                                        

                                                       อ้างอิง:สำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

ขั้นตอนการทำเว็บ


1. จุดประสงค์ของการ ทำเว็บ
        เมื่อเราตัดสินใจที่จะ ทำเว็บ ขึ้นมาสักเว็บหนึ่ง สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ "จุดประสงค์" ในการ ทำเว็บ ว่าเว็บที่เราจะทำนั้น เราต้องการ ทำเว็บ เพื่ออะไร เช่น ทำเว็บ ขายสินค้า E-commerce ร้านค้าออนไลน์ เว็บเพื่อประชาสัมพันธ์บริษัท องค์กร โรงเรียน สถานที่ท่องเที่ยว หรือทำเว็บไซต์กลุ่มหรือ เว็บไซต์ส่วนตัว เมื่อผู้ ทำเว็บ เข้าใจจุดประสงค์ในการ ทำเว็บ ของตนเป็นอย่างดีแล้ว ก็ย่อมที่จะสามารถสื่อสาร ให้ผู้ที่เข้าชมเว็บไซต์ หรือกลุ่มลูกค้า เข้าใจในเว็บไซต์ได้ดีเช่นกัน




2. เลือกชื่อ Domain name
        โดเมนเนม คือ ชื่อของเว็บไซต์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์หรือตัวแทนของเว็บที่ทำขึ้น ดังนั้นการตั้งชื่อ โดเมนเนมจึง เป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นมากที่เราต้องคำนึงถึง การตั้งชื่อ โดเมนเนม ที่ดี ควรคำนึงตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
  1. ใช้ตัวอักษรตั้งแต่ 3-63 ตัวอักษรและต้องใช้ (a-z),(0-9) และเครื่องหมาย dash "-" เท่านั้น
  2. ใช้จุด "." ได้ในกรณี ที่แบ่งแยกตาม level ได้ เช่น www.su.ac.th
  3. ตัวแรกและตัวสุดท้ายต้องเป็นตัวอักษรเท่านั้น
  4. ห้ามมีช่องว่าง (No space)
  5. ตัวอักษรเล็กหรือใหญ่ ไม่มีผลต่อการตั้งชื่อ
  6. ชื่อโดเมนเนมไม่ยาวจนเกินไป
  7. ต้องสะกดง่าย หลีกเลี่ยงคำไทยที่สะกดยาก
  8. ชื่อโดเมนเนม ควรมีเนื้อหาสื่อความหมายเกี๋ยวกับเว็บไซต์ด้วย
ระบบ Domain name ที่ทำการจดทะเบียนได้
.com ,.net ,.co.th ,.in.th, .org ,.name, .biz ,.info
หากเราตั้งชื่อโดเมนเนม ได้ตามหลักเกณฑ์ข้างต้น แล้วย่อมทำให้ชื่อเว็บไซต์ของเราเป็นที่รู้จัก ของผู้ใช้งานได้อย่างแน่นอน



3. วางโครงสร้างเว็บไซต์
หน้าแรกเป็นการอธิบาย รายละเอียดข้อมูลของเว็บไซต์ เราโดยสรุปว่าเว็บไซต์นี้ทำเกี่ยวกับอะไร หรือว่าให้บริการใดบ้าง เพื่อให้ผู้เข้าชมเว็บเข้าใจจุดประสงค์ ของเว็บ มากที่สุด
สินค้าส่วนแสดงสินค้า ราคา รายละเอียด ส่วนลด คำอธิบายเกี่ยวกับสินค้าและบริการของเราทั้งหมด อาจจะมีส่วนของ การสั่งซื้อ วิธีการชำระเงิน วิธีการจัดส่งสินค้า เพิ่มมาในส่วนนี้ได้
เว็บบอร์ดสำหรับติดต่อพูดคุย กับผู้เข้าชมเว็บไซต์ หรือลูกค้า
คำถาม คำตอบอธิบาย ชี้แจงข้อสงสัย คำถามที่มักจะเจอบ่อยๆ เพื่อให้เกิดความกระจ่างในสินค้า หรือบริการของเรา
ติดต่อเราแสดงรายละเอียดสถานที่ เบอร์โทรติดต่อ แผนที่ หรือรายละเอียดอื่นๆ ที่จะทำให้ลุกค้า ผู้เข้าชมติดต่อกับเจ้าของเว็บไซต์ได้






          
4. ลงมือ ทำเว็บ
        การทำเว็บไซต์สามารถทำได้ หลายวิธี เช่น ทำเว็บ ด้วยโปรแกรม Dreamweaver Html หรือ การทำเว็บด้วย www.makewebeasy.com














  1. เลือก template หรือหน้าตาเว็บไซต์ในแบบที่เราต้องการ
  1. ปรับค่าสี/สีพื้นหลัง/สีตัวอักษร ขนาดของตัวอักษร และกำหนดขนาดรูปภาพให้แสดงได้ตามที่เราต้องการ
  1. สร้างเมนูตามโครงสร้างเว็บไซต์หรือ Site-map ตามที่ได้วางไว้เนื้อหาไว้
  1. เพิ่มเนื้อหา ตามเมนูที่สร้างไว้ เข้าสู่ระบบ
  1. ทำการเชื่อมต่อ Link เมนูเข้ากับเนื้อหาที่ได้สร้างไว้ เพื่อให้แสดงในส่วนที่เราต้องการ
  1. ใส่คำค้น Keyword ที่จะช่วยในการค้นหาเว็บไซต์ของเรา เข้าสู่ระบบ เพื่อช่วยให้ Search engine ค้นหาเว็บไซต์ของเราได้ง่ายมากยิ่งขึ้น


ที่มา : http://www.makewebeasy.com


วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

หลักพื้นฐานในการค้นหาข้อมูลด้วย Google


การค้นหาข้อมูลด้วย Google นั้นทำได้ไม่ยาก เพียงแค่พิมพ์หัวข้อค้นหา (ซึ่งเป็นคำหรือวลีที่อธิบายข้อมูลที่คุณต้องการค้นหาได้ดีที่สุดในกล่องข้อความ จากนั้นกดปุ่ม ‘Enter’ หรือคลิกที่ปุ่ม‘Google Search


จากนั้น Google ก็จะคืนผลลัพธ์ เป็นรายการของหน้าเว็บที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับหัวข้อค้นหาของคุณ โดยหน้าเว็บที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องที่ชัดเจนที่สุดจะปรากฏออกมาเป็นลำดับแรก
เคล็ดลับขั้นต้นที่จะช่วยให้คุณค้นหาข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นได้แก่
·       การเลือกหัวข้อค้นหา
·       การใช้ตัวพิมพ์เล็ก-ใหญ่
·       การค้นข้อมูลอัตโนมัติด้วยฟังก์ชัน "and"   
·      การละคำทั่วไป  
·      การค้นหาคำใกล้เคียง   
·      การค้นหาทั้งวลี   
·       หัวข้อค้นหาที่ไม่ต้องการ  
·       ดีใจจัง ค้นแล้วเจอเลย


การเลือกหัวข้อค้นหา
การเลือกหัวข้อค้นหาที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้คุณค้นพบข้อมูลที่ต้องการ
เริ่มต้นด้วยตัวอย่างง่ายๆ สมมติว่าคุณอยากทราบข้อมูลทั่วไปของรัฐฮาวาย ลองใช้หัวข้อค้นหา Hawaii
แต่ตามปกติแล้วการใช้หัวข้อค้นหามากกว่าหนึ่งคำจะให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า ถ้าคุณมีแผนอยากไปพักร้อนที่ฮาวาย หัวข้อค้นหาvacation Hawaii ย่อมให้ผลลัพธ์ดีกว่าการใช้หัวข้อค้นหาเพียงvacation หรือ Hawaii อย่างใดอย่างหนึ่ง และ vacation Hawaii golf อาจให้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นไปอีก(หรือแย่ลงก็ได้ อันนี้แล้วแต่)


คุณอาจจะลองถามตัวเองว่าหัวข้อค้นหาที่คุณใช้นั้น ชัดเจนเพียงพอหรือไม่ การค้นหาโดยใช้หัวข้อค้นหา luxury hotels Maui ย่อมดีกว่าหัวข้อ tropical island hotels แต่จงเลือกหัวข้อค้นหาอย่างระมัดระวัง เพราะ Google จะค้นหาโดยยึดสิ่งที่คุณพิมพ์เป็นหลัก ดังนั้นหัวข้อ luxury hotels Maui น่าจะให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า really nice places to spend the night in Maui

การใช้ตัวพิมพ์เล็ก-ใหญ่
การค้นหาโดยใช้ Google นั้นจะถือว่าตัวพิมพ์เล็ก-ใหญ่มีค่าเท่ากัน ดังนั้น การค้นหาโดยใช้หัวข้อค้นหา george washingtonGeorge Washington และ gEoRgE wAsHiNgToN จะให้ผลลัพธ์เหมือนกัน

การค้นข้อมูลอัตโนมัติด้วยฟังก์ชัน and
ตามปกติแล้ว Google จะคืนผลลัพธ์เป็นหน้าเว็บที่มีหัวข้อค้นหาทุกคำเท่านั้น จึงไม่จำเป็นต้องพิมพ์คำว่า “and” ระหว่างหัวข้อค้นหา อย่างไรก็ตาม ลำดับการพิมพ์หัวข้อค้นหามีผลต่อข้อมูลผลลัพธ์ ถ้าต้องการให้การค้นหาจำกัดแคบลงไปอีก ให้พิมพ์หัวข้อค้นหาเพิ่มลงไป เช่น หากต้องการหาที่พักร้อนในฮาวาย พิมพ์ vacation hawaii


การละคำทั่วไป
Google จะละคำทั่วไป เช่นคำว่า "where" และ "how" ออกจากการค้นหา เช่นเดียวกับตัวเลขตัวเดียวและตัวอักษรตัวเดียว เนื่องจากการใช้คำดังกล่าวด้วยอาจทำให้การค้นข้อมูลทำได้ช้าลง และไม่ทำให้ผลลัพธ์ออกมาดีขึ้น
ในกรณีที่ต้องการรวมคำดังกล่าวไว้เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการ คุณสามารถพิมพ์เครื่องหมาย + ไว้หน้าคำนั้น (อย่าลืมเว้นวรรคหน้าเครื่องหมาย +)
อีกวิธีหนึ่งคือทำการค้นหาแบบเป็นวลี โดยใส่เครื่องหมายคำพูด (“...”) ล้อมรอบหัวข้อค้นหาสองคำหรือมากกว่านั้น (เช่น "where are you")

การค้นหาคำใกล้เคียง
ในปัจจุบัน Google มีเทคโนโลยีการหารากศัพท์ โดย Google ไม่เพียงแต่ค้นหาหัวข้อที่คุณพิมพ์ลงไปเท่านั้น แต่ยังค้นหาคำใกล้เคียงกันอีกด้วย เช่นการค้นจากคำว่า pet lemur dietary needsจะทำให้ Google ค้นหาคำว่า pet lemur diet needs และอื่นๆ ที่คล้ายกันอีกด้วย

การค้นหาทั้งวลี
ในการค้นหาทั้งวลี คุณเพียงแต่ใส่เครื่องหมายคำพูด (“...”) ล้อมรอบวลีนั้น


การค้นหาด้วยวลีจะได้ผลมากกับชื่อเฉพาะ เช่น “George Washington”เนื้อเพลง เช่น “the long and winding road” หรือคำคมเช่น “This was their finest hour”

หัวข้อค้นหาที่ไม่ต้องการ
ถ้าหัวข้อค้นหาของคุณมีหลายความหมาย (เช่น bass อาจมีความหมายเกี่ยวข้องกับปลาหรือดนตรีก็ได้คุณสามารถระบุหัวข้อค้นหาโดยการพิมพ์เครื่องหมายลบ (-) หน้าความหมายที่ไม่ต้องการ (อย่าลืมใส่ช่องว่างหน้าเครื่องหมายลบ)
เช่น ค้นหาหน้าเว็บที่ไม่เกี่ยวกับดนตรี


และสุดท้าย "ดีใจจัง ค้นแล้วเจอเลย"
หลังจากกรอกหัวข้อค้นหาเรียบร้อยแล้ว คุณอาจลองใช้ปุ่ม "ดีใจจัง ค้นแล้วเจอเลย(I’m Feeling Lucky) ซึ่งจะพาคุณไปยังหน้าเว็บที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อค้นหาที่ชัดเจนที่สุดทันทีโดยไม่แสดงหน้าจอผลลัพธ์
ตัวอย่าง ถ้าคุณต้องการค้นหาโฮมเพจของ Stanford University เพียงพิมพ์คำว่า Stanford จากนั้นคลิก "ดีใจจัง ค้นแล้วเจอเลย" Google จะพาคุณไปยังเว็บ "www.stanford.edu" ทันที


วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ทางด่วนสารสนเทศ (Information Superhighway)




  • ทางด่วนสารสนเทศ (Information Superhighway)
    ในปัจจุบันนี้ผู้ใช้หลายคนเข้าใจว่า ทางด่วนสารสนเทศ (Information Superhighway) กับ อินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นสิ่งเดียวกัน แต่ในความเป็นจริงนั้นทางด่วนสารสนเทศหรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า ไอเวย์ (I-way) หมายถึง ครงสร้างพื้นฐาน (infrastructure) ของระบบโทรคมนาคมในการรับส่งข้อมูลดิจิตอลที่มีความเร็วและมีความเชื่อถือได้ ตลอดจนมีความปลอดภัยสูงพอที่จะรองรับข้อมูลจำนวนมหาศาลจากผู้ใช้ทั้งประเทศหรือแม้กระทั่งโลก ส่วนอินเตอร์เน็ตก็คือต้นแบบของทางด่วยสารสนเทศที่เกิดขึ้นแล้วในปัจจุบันนั่นเอง
    ทางด่วนสารสนเทศจะเป็นระบบคมนาคมสื่อสาร ที่สามารถให้บริการติดต่อสื่อสารได้ทุกรูปแบบและรวดเร็ว สิ่งที่วิ่งอยู่บนทางด่วนสารสนเทศอาจเป็นได้ทั้งภาพ เสียง หรือข้อมูล ส่วนการติดต่อสื่อสารสามารถเป็นได้ทั้งแบบโต้ตอบสองทางเช่นเดียวกับการใช้โทรศัพท์ หรือแบบทางเดียวเช่นเดียวกับการแพร่ภาพของสัญญาณโทรทัศน์และการกระจายเสียงของสัญญาณวิทยุ แนวความคิดในการสร้างทางด่วนสารสนเทศก็คือการนำเอาเครือจายของโทรศัพท์ โทรทัศน์ และคอมพิวเตอร์มารวมกัน เพื่อเสริมจุดเด่นและแก้จุดด้อยของแต่ละเครือข่าย รวมทั้งมีการกำหนดว่าสัญญาณที่ใช้ต้องเป็นสัญญาณแบบดิจิตอลเท่านั้น เพราะมีสัญญาณรบกวนน้อยมาก
    เมื่อมีทางด่วนสารสนเทศ ในอนาคตสภาพบ้านเรือนและสำนักงานจะเปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือ โทรศัพท์ โทรทัศน์ ตลอดจนเครื่องคอมพิวเตอร์ จะมีสายต่อเชื่อมเข้ากับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่ใช้แยกสัญญาณต่าง ๆ ในการติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่น ๆ ทั่วโลก อุปกรณ์นี้จะเชื่อมต่อไปยัง หน่วยบริการท้องถิ่น (Local Service Provider) ซึ่งทำหน้าที่แทนชุมสายโทรศัพท์ท้องถิ่นในปัจจุบัน และหน่วยบริการท้องถิ่นก็จะมีสายเชื่อมต่อกับทางด่วนสารสนเทศที่ผ่านเมืองนั้น เครือข่ายทั้งหมดจะรวมกันเครือข่ายขนาดใหญ่ที่ครอบคลุมทั้งโลก ทำให้การติดต่อสื่อสาร ตลอดจนการทำธุรกิจต่าง ๆ สามารถกระทำได้โดยไม่ต้องก้าวออกจากบ้านหรือสำนักงานเลย
  • อินเตอร์เน็ต (INTERNET)
  • อินเตอร์เน็ตคือตัวอย่างหนึ่งของทางด่วนสารสนเทศที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และเป็นทางด่วนที่ได้รับความนิยมสูงสุด เนื่องจากเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปถึงศักยภาพในการเติบโตเป็นชุมชนขนาดใหญ่ของอินเตอร์เน็ต โดยปัจจุบันนี้อินเตอร์เน็ตมีการเชื่อมต่อระบบคอมพิวเตอร์นับล้านระบบและมีผู้ใช้หลายสิบล้านคน ซึ่งเทียบประชากรอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันได้กับประชากรของประเทศไทยทั้งประเทศ และที่สำคัญก็คือรายได้เฉลี่ยของประชากรอินเตอร์เน็ต จะสูงกว่ารายได้เฉลี่ยของประชากรประเทศใด ๆ ในโลก อินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายซึ่งเป็นที่รวมของเครือข่ายย่อย ๆ หรือกล่าวได้ว่าเป็น ครือข่ายของเครือข่าย (Network of Network) ซึ่งสื่อสารกันได้โดยใช้โปรโตคอลแบบทีซีพี/ไอพี (TCP/IP) ซึ่งทำให้คอมพิวเตอร์ต่างชนิดกันเมื่อนำมาใช้ในเครือข่ายแล้วสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้
 ที่มา: http://cptd.chandra.ac.th

การใช้งาน picasa web album

http://www.picasa.com นั้นเป็นบริการให้พื้นที่เก็บภาพ จาก google ให้พื้นที่ขนาดมหาศาล เราสามารถเอาพื้นที่เก็บภาพตรงนี้ไปประยุกต์ใช้ กับชีวิตประจำวันเราได้สบายๆ อย่างเช่น ถ้าท่านทำเว็บ ท่านก็อาจจะเก็บภาพทั้งหมด ที่ใช้ในเว็บไว้ที่นี่ หรือถ้าท่านเป็นผู้ที่ชอบท่องไปตามเว็บบอร์ดต่างๆ เพื่อถามปัญหาข้อสงสัยของตัวเอง แน่นอนว่าภาพอธิบายได้ดีกว่าคำพูด ท่านก็เก็บภาพที่ท่านจับมาจากหน้าจอ เก็บไว้ที่ picasa แล้วเอาไปโพสต์ในบอร์ด ท่านก็จะได้เก็บความทรงจำของท่านไว้ด้วยว่า ท่านเคยเจอปัญหาอะไรมาบ้างก่อนอื่นเลยท่านจะต้องสมัครอีเมล์ของ gmail ก่อน เมื่อท่านได้แอคเค้าของ gmail มาแล้ว บริการอีกบานเบอะจะติดมาด้วย ในนั้นรวมเอา picasa มาด้วย  เริ่มกันเลยดีกว่า


1. ป้อนรายละเอียดในหน้าลงทะเบียน





  • First name:  ป้อนชื่อของท่าน
  • Last name: นามสกุล
  • Desired Login Name: ป้อนชื่ออีเมล์ที่ต้องการ เป็นภาษาอังกฤษ
  • Choose a password: ป้อนรหัสผ่านที่ต้องการ
  • Re-enter password: ยืนยันรหัสผ่านอีกครั้ง
  • Security Question: เลือกคำถามกันลืม
  • Answer: ป้อนคำตอบกันลืม
  • Secondary email: อีเมล์สำรอง เผื่อใช้ในกรณีท่านลืมรหัสผ่าน เขาจะส่งรหัสผ่านไปให้ที่นี่
  • Location: เลือกเป็น Thailand
  • Word Verification: ป้อนตัวหนังสือยุกยิกๆ ในภาพให้ถูกต้อง
  • เมื่อทุกอย่างเรียบร้อยแล้วคลิกปุ่ม I accept Create my account





2. คลิกปุ่ม upload เพื่อเอาภาพที่ต้องการไปเก็บ




3. เลือกสร้าง album ใหม่ หรือคลิกเลือก album เดิมที่มีอยู่แล้วก็ได้








4. เลือกภาพที่ท่านต้องการอัปโหลดไปเก็บ เสร็จแล้วคลิกปุ่ม Start Upload ได้เลย แล้วรอสักครู่





5. เมื่ออัปโหลดเสร็จท่านจะถูกนำไปหน้าแสดงภาพ ให้คลิกภาพที่ต้องการใช้งาน (ภาพที่ต้องการนำไปแปะตามบอร์ดต่างๆ)


6. คลิกที่ Link to this Photo เลือกขนาดภาพในช่อง Select size ติ๊ก Image only ท่านก็จะได้ url ของภาพท่าน ทีนี้ท่านจะเอาภาพนี้ไปแปะที่ไหนก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นใช้ในเว็บท่านเอง หรือนำไปใช้แปะอธิบาย ตามบอร์ดต่างๆ




ที่มา:http://www.select2web.com